ทำขวัญควาย

ควายในทัศนะของชาวนาทั่วไปในจังหวัดนนทบุรีและชาวนาทั้งหลายในจังหวัดอื่น ๆ ที่ใช้ควายช่วยทำนาจะมีจารีตของสังคมชาวนาที่ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของควาย ทั้งนี้เพราะการทำนาในยุคก่อนซึ่งไม่มีเครื่องจักรกลเข้ามามีบทบาทในการทำนา วัวควายเป็นเครื่องมือสำคัญของชาวนาที่ช่วยในการทำนา ตั้งแต่ไถนา คราดนา ลากข้าว นวดข้าว ตลอดจนใช้เทียมเกวียนเทียมเลื่อนบรรทุกสิ่งของได้ และควายต้องมีบัตรประจำตัว แสดงเพศและรูปพรรณสัณฐาน เรียกว่า "ตั๋วรูปพรรณควาย” ที่เจ้าของต้องดูแลเก็บไว้ ชาวนาจึงให้ความรักความผูกพันกับควายเหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว คอยดูแลไม่ให้ริ้นยุงมากัดด้วยการสุมไฟไล่ริ้นยุง หาหญ้ามาให้กินหรือจูงไปหากินหญ้า พาไปอาบน้ำ ในบางครั้งที่การทำนาได้ผลผลิตดี ชาวนาจะทำพิธีสู่ขวัญควายเพื่อเป็นการขอบคุณที่ควายได้ช่วยทำงานอย่างดีจนได้ มีข้าวในนามากมาย ในวันพระต้องให้ควายได้หยุดงาน ดังนั้นในทุกวันพระจึงไม่มีการไถนา คราดนา หรือนวดข้าวด้วยควาย

ควายที่อายุมากทำงานไม่ไหว ชาวนาจะคงเลี้ยงควายนั้นไว้ แม้จะใช้ทำงานไม่ได้ก็ตาม เมื่อควายถึงแก่ความตาย โดยทั่วไปแล้วชาวนาผู้เป็นเจ้าของจะมอบซากควายนั้นให้แก่ชาวบ้านเพื่อเป็นอาหาร แต่เจ้าของควายจะไม่กินเนื้อควายที่ตนเลี้ยง หนังควายมักจะถวายวัดใช้ทำกลองของวัดได้


image รูปภาพ
image
image
image

image วิดีโอ

ไฟล์เอกสารประกอบ
|

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar