สถานการณ์โควิด-19 จังหวัดนนทบุรี ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา (1 มกราคม – พฤศจิกายน 2565)

สถานการณ์โควิด-19 จังหวัดนนทบุรี ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา (1 มกราคม – พฤศจิกายน 2565)
          นายแพทย์รุ่งฤทัย มวลประสิทธิ์พร สาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีกล่าวว่า ปัจจุบันโรคโควิด 19ใน ประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย และกระจายไปทุกจังหวัด ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงสัมพันธ์กับหลายอย่าง อทิ สถานบันเทิง กิจกรรมรวมกลุ่ม งานเลี้ยงสังสรรค์ และแพร่กระจายไปในผู้สัมผัสในครอบครัว กลุ่มเพื่อน และที่ทำงาน สำหรับสถานการณ์โควิด-19 จังหวัดนนทบุรี ในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565จนถึงปัจจุบัน สถานการณ์โควิด-19 เข้าสู่ระยะ Post Pandemic หรือ การปรับจากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง แม้ว่าการระบาดของโรคเป็นสายพันธุ์ที่มีอัตราการตายต่ำ แต่สำหรับผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวยังมีความเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิต ควรได้รับการฉีดวัคซีนให้ครบ แม้ว่าผู้สูงอายุอาจไม่ได้ไปยังสถานที่เสี่ยง แต่ผู้ติดเชื้อร่วมบ้านอาจเป็นวัยทำงาน วัยเรียน ติดเชื้อจากนอกบ้านนำมาสู่ผู้สูงอายุในครอบครัวได้ในส่วนแนวทางการดำเนินงานเมื่อเข้าสู่ระยะ Post Pandemic จังหวัดนนทบุรีนั้นประกอบด้วย 1.สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในจังหวัดรายงานผู้ป่วยตามระบบ API ทุกวัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการติดตามและวิเคราะห์สถ่านการณ์โรคทุกสัปดาห์กรณีพบผู้ป่วยลักษณะเป็นกลุ่มก้อน มากกว่า 5 รายในพื้นที่เดียวกันให้สอบสวนโรคเพื่อดำเนินการควบคุมโรคในพื้นที่กรณีพบผู้ที่ได้รับวัคซีนกระตุ้นไม่เกิน 3 เดือน มีการติดเชื้อ หรือผู้ที่มีอาการรุนแรงสามารถส่งตัวอย่างตรวจหาสายพันธุ์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ เพื่อค้นหาการติดเชื้อจากสายพันธุ์ใหม่ในพื้นที่ ตามแนวทางที่จัดส่งให้โรงพยาบาลทุกแห่ง
2. แนะนำให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมใจกันฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ เพื่อลดอาการรุนแรง ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่ม608 
3. ขอความร่วมมือในการเคร่งครัดสุขอนามัยส่วนบุคคล เว้นระยะห่าง สวมแมสและล้างมือบ่อย ๆ
สำหรับยอดผู้ติดเชื้อของจังหวัดนนทบุรี ใน 4 สัปดาห์ย้อนหลังที่ผ่านมามีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะในสัปดาห์ที่ 46 และ 47 ที่ผ่านมานั้น มีผู้เสียชีวิต 2 ร่าย เป็นผู้สูงอายุทั้ง 3 ราย และใน 1 ราย ไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งขณะนี้ทางจังหวัดนนทบุรี อยู่ในช่วงการพิจารณาในการปรับความเข้มข้นของมาตรการส่วนบุคคล โดยเน้นให้ประชาชนมีความเคร่งครัดในการใส่หน้ากากอนามัยสม่ำเสมอ หมั่นล้างมือบ่อยๆ และในกลุ่มเปราะบางให้หลีกเลี่ยงการเข้ารวมกลุ่มในที่ชุมชน พร้อมทั้งกระตุ้นให้ประชาชนรับวัคนอย่างน้อย 3 เข็มหรือหากได้รับวัคซึนเข็มสุดท้ายมานานเกินกว่า 4 เดือน ต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข้มกระตุ้น  จากการวิจัยของ นพ.งค์ ภู่วรวรรณ พบว่า ประโยชน์ของวัคชีนเข็มกระตุ้น คือ 
 1.ลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ
2.ลดความรุนแรงของโรค เมื่อเกิดการติดเชื้อ
3.ลดอาการ และลดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อไปหาผู้อื่น
และปัจจุบัน จังหวัดนนทบุรี มีความครอบคลุมของวัคซีนเข็ม 3 ทุกกลุ่มประชากร 75.31% ความครอบคลุมของวัคซีนเข็ม 3 กลุ่ม 608=84.78% และกลุ่มเด็ก 6 เดือน 4 ปี 6.70 %


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image
image

ไฟล์เอกสารประกอบ
ประกาศกรมประชาสัมพันธ์ เรื่อง ประกาศรับสมัครงาน (ตัวอย่างข้อมูล) |

Line

คะแนนโหวต :
StarStarStarStarStar